วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก





กุมภาพันธ์เป็นเดือนที่อบอวลไปด้วยความสุขการแสดงถึงความรัก ความห่วงใยถึงคนที่ เราปรารถนาดีและ
อยากให้เขามีความสุข และเป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือ Valentine’s Day และวันนี้ยังมีคิวปิด หรือกามเทพ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันวาเลนไทน์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คิวปิดเป็นบุตรของวีนัสและมาร์ส แต่ ชาวกรีกเรียกคิวปิดว่า อีรอส ภาพของ คิวปิดที่มนุษย์โลกปัจจุบันได้รู้จัก
ก็คือภาพเด็กน้อยที่ถือคันธนูและลูกศร มีหน้าที่ยิงศรรักให้ปักใจคน ปัจจุบัน คิวปิดและธนูของเขากลายมาเป็น เครื่องหมายแห่งความรักที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด และความรักของเขามีกล่าวถึงบ่อยในภาพของ การยิงศรรัก ระหว่าง หัวใจสองดวงให้รักกัน เรียกกันว่า ศรรักคิวปิด เราจึงมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยว กับประวัติความเป็นมาและความสำคัญ ของวันนี้กันค่ะ

เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้น ตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุดเพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโนผู้เป็น จักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจาก นี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่ง อิสตรีเพศและการแต่งงานและในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาล เฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การ ดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะ ถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่ง กรุงโรม พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การ ทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและ แต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็น ความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
.
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูก เก็บไว้ที่โบสถ์ พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุม ศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็น ที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มา จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้อง หลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะ เป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคง แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความ กล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลอง เทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

วาเลนไทน์ ในแต่ละประเทศจะมีประเพณีหรือการ ปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองและเป็นการแสดงถึง ความรัก
ที่มีระหว่างกัน ต่อมาเมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางด้าน การพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องมีการพิมพ์บัตร อวยพรโดยเข้ามาแทนที่จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ และปัจจุบันก็มีการส่งบัตรอวยพรทางออนไลน์เพื่อ
แสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วย ให้คนที่ต้องการ
แสดงความรักความห่วงใย ถึงคนที่รักได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ประวัติ วันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้เป็นเพียง หนึ่งในหลายๆเรื่องเท่านั้น แต่ไม่ว่าประวัติ ที่แท้จริง จะเป็นอย่างไรก็ตาม ใน ปัจจุบัน นี้เราได้ถือว่าวันวาเลนไทน์เป็น วันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เลยที เดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนมและ การ์ด เพื่อบอกความนัยให้แก่คนพิเศษ ของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่เราส่งความรู้สึก ดีๆให้แก่กัน...




กุมภาพันธ์เป็นเดือนที่อบอวลไปด้วยความสุขการแสดงถึงความรัก ความห่วงใยถึงคนที่ เราปรารถนาดีและ
อยากให้เขามีความสุข และเป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือ Valentine’s Day และวันนี้ยังมีคิวปิด หรือกามเทพ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันวาเลนไทน์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คิวปิดเป็นบุตรของวีนัสและมาร์ส แต่ ชาวกรีกเรียกคิวปิดว่า อีรอส ภาพของ คิวปิดที่มนุษย์โลกปัจจุบันได้รู้จัก
ก็คือภาพเด็กน้อยที่ถือคันธนูและลูกศร มีหน้าที่ยิงศรรักให้ปักใจคน ปัจจุบัน คิวปิดและธนูของเขากลายมาเป็น เครื่องหมายแห่งความรักที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด และความรักของเขามีกล่าวถึงบ่อยในภาพของ การยิงศรรัก ระหว่าง หัวใจสองดวงให้รักกัน เรียกกันว่า ศรรักคิวปิด เราจึงมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยว กับประวัติความเป็นมาและความสำคัญ ของวันนี้กันค่ะ

เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้น ตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุดเพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโนผู้เป็น จักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจาก นี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่ง อิสตรีเพศและการแต่งงานและในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาล เฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การ ดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะ ถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่ง กรุงโรม พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การ ทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและ แต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็น ความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
.
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูก เก็บไว้ที่โบสถ์ พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุม ศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็น ที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มา จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้อง หลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะ เป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคง แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความ กล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลอง เทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้


วาเลนไทน์ ในแต่ละประเทศจะมีประเพณีหรือการ ปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองและเป็นการแสดงถึง ความรัก
ที่มีระหว่างกัน ต่อมาเมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางด้าน การพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องมีการพิมพ์บัตร อวยพรโดยเข้ามาแทนที่จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ และปัจจุบันก็มีการส่งบัตรอวยพรทางออนไลน์เพื่อ
แสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วย ให้คนที่ต้องการ
แสดงความรักความห่วงใย ถึงคนที่รักได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ประวัติ วันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้เป็นเพียง หนึ่งในหลายๆเรื่องเท่านั้น แต่ไม่ว่าประวัติ ที่แท้จริง จะเป็นอย่างไรก็ตาม ใน ปัจจุบัน นี้เราได้ถือว่าวันวาเลนไทน์เป็น วันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เลยที เดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนมและ การ์ด เพื่อบอกความนัยให้แก่คนพิเศษ ของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่เราส่งความรู้สึก ดีๆให้แก่กัน...

พุทธชยันตี

ไฟล์:2600 Sambuddhatva jayanthi in Jetavana 02.jpgพุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า[1] หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ [2]
โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี[3] แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง
พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง

ประวัติ
คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา[5] และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย[6][7]
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกร นำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย
[8] ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎก[9] สำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วย[10]
โดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ[11]1 มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[12] พระราชบัญญัติล้างมลทิน[13] มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย[14] นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ"[15] ทำให้คำว่า "พุทธชยันตี" ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.icundv.com/
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ( Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment.). [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [7]