วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พุทธชยันตี

พุทธ ช ยัน ตี ๒๖๐๐ ปี แห่ง การ ตรัสรู้


 


นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาส
ในวันวิสาขบุชาถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งทาง พุทธศาสนา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน และในปีนี้หลายคนคงได้ยินคำ ๆ หนึ่งทางสื่อต่าง ๆ คำนั้นก็คือ “พุทธชยันตี” แล้วรู้ไหมครับว่า พุทธชยันตี นี้มีความหมาย และความสำคัญอย่างไร เรามาดูกันดีกว่าครับ
พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตีเป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี ที่แปลว่า วันครบรอบในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้
โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่น เอง
พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวัน วิสาขบูชานั่นเอง
ในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติล้างมลทิน มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการ ชั่วคราวด้วย
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ทำให้คำว่า “พุทธชยันตี” ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ
ปีพุทธศักราช 2555 นี้ นับเป็นปีที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำคัญต่อปวงชนชาวไทย ในฐานะที่เป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาไว้เป็นศาสนาประจำจิตประจำใจ จนเป็นศาสนาประจำชาติ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนามีอายุมาครบ 2600 ปีนับแต่การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้บรมศาสดา ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา
ในปีพุทธศักราช 2555 นี้ พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลองโดยร่วมกันทำสักการบูชาในพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกันทั่วหน้า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณูปการที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานแสงสว่างให้แก่ ชีวิตและโลกด้วยพระมหากรุณาอันหาประมาณมิได้ ปวงชนชาวไทยพุทธเราก็พร้อมจิตพร้อมใจกันทำการฉลองโดยทั่วหน้า
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org และ http://www.onab.go.th/

ที่มาและความสำคัญ พุทธชยันตี (बुद्ध जयंती, Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่ง การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธนานาชาติอย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.2500 (ถือกันว่าเป็นกึ่งพุทธกาล) แต่สันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้ ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2491 และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟูพุทธสาสนาในประเทศอินเดีย โดยมีการนำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็นพ.ศ.2500 เร็วกว่าไทย 1 ปี) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศอินเดียยังได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิ วเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ด้วย สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศให้พุทธสาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด “ฉัฏฐสังคีติ” คือการสังคายนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 6 แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก

 

พุทธชยันตีหมายความว่าอะไร?

พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึงชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง อย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น การตรัสรู้ และ การบังเกิดขึ้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธสาสนาและชาว พุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาว พุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรี ลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคมจนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต่ำมากๆ

 

2,600 ปีตรัสรู้คำนวนอย่างไร?

สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา 2554 – วิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2554 ที่ผ่านมานี้ (17 พ.ค.2554) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2599 ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2,600 แห่งการตรัสรู้ โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพาน บวกด้วย 45 อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน (สูตรการคำนวณ จำนวนปีการตรัสรู้ = ปี พ.ศ. + 45) ดังนั้นในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.2555 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ 2,600 ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี (2553-2555) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดียเป็นต้นได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า 2 ปีที่ผ่านมาในวงจำกัด ส่วนในระดับรัฐบาล สมควรที่รัฐบาลไทยจะประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช 2555 นี้ อย่างเป็นทางการ

 

เฉลิมฉลองพุทธชยันตีรัฐบาลควรทำอะไรบ้าง?

เนื่องในโอกาสนี้ เครือข่ายพุทธชยันตี-สังฆะเพื่อสังคม ได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการถึงรัฐบาลให้จัดงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะแห่งศีลธรรมของชาวพุทธอันเป็นสารัตถะของการปฏิบัติบูชา โดยแท้ จึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้

๑. ขอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน สั่งการและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการและดำเนินการจัดงานอย่างจริงจังทั้งในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น และระดับสากล

๒. การจัดงานในครั้งนี้ขอให้มีการเน้นหนักใน การปฏิบัติบูชา และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติธรรมในหมู่พุทธศาสนิกชน และมุ่งให้มีการฟื้นฟูวิถีชาวพุทธตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชนอย่างจริงจัง และให้เกิดการสืบต่ออย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเป็นวิถีชีวิตอย่างแท้จริง อันจะเป็นการเสริมสร้างความรักและสามัคคีของคนในชาติ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับสังคมประเทศชาติ ตามหลักอปริหานิยธรรม

๓. ให้ผู้นำทั้งในภาคการเมืองและภาคราชการ ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนตามวิถีชาวพุทธ อย่างเช่น การนำครอบครัวเข้าวัดปฏิบัติธรรม ทำบุญร่วมกัน ในวันพระ-วันหยุด

๔. กำหนดนโยบายและขอความร่วมมือให้สื่อสารมวลชนของรัฐและภาคเอกชน ได้สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบและร่วมปฏิบัติบูชาในโอกาสการ เฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้

๕. สำหรับปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ให้ถือว่า การปฏิบัติบูชาของพุทธศาสนนิกชนทั่วประเทศในโอกาสพุทธชยันตีนี้ เป็นการทำบุญประเทศไทยร่วมกัน เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาส ๘๔ พรรษา จึงเรียกชื่องานว่า “พุทธชยันตีเฉลิมราช

 

ภาคประชาชนควรปฏิบัติบูชาอย่างไร?

นอกจากนี้ทางเครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม ยังได้ประสานกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อประสานงานขอความเมตตาจากมหาเถรสมาคมให้พิจารณาแนวทางการเฉลิมฉลอง ปฏิบัติบูชาในหมู่ประชาชนเนื่องในธัมมาภิสมัยพุทธชยันตีนี้ จนสำเร็จเป็น มติมหาเถรสมาคม ที่ ๑๓/๒๕๕๔ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สรุปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ 3 ประการ ดังนี้

(๑) สื่อสารวันพระให้เป็นวันแห่งสติ

คิดค้นวิธีการสื่อสารความดี ให้คนได้ระลึกถึงวันพระในทุกๆ วันพระ เพื่อสร้างให้ชาวพุทธเกิดการเรียนรู้โดยรวมทั้งสังคมไทย ให้เกิดความตระหนักและรู้ในทุกวันพระ ทำให้วันพระเป็นวันแห่งสติของสังคมไทย เดือนละ ๔ ครั้ง หรือ ปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง

(๒) ครอบครัวทำบุญร่วมกันทุกสัปดาห์ (ฟื้นวิถีบุพเพสันนิวาส-เติมบุญให้ครอบครัว)

มีกิจกรรมในระดับครอบครัวของตนเองหรือระดับส่วนบุคคล ที่ทำให้ได้ทำบุญ หรือเรียนรู้ธรรมะร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทุกวันเสาร์ ทุกวันอาทิตย์ หรือทุกวันพระ ตามความสะดวกและเหมาะสม ประมาณปีละ ๕๐ ครั้ง

(๓) ทำบุญใหญ่ร่วมกันทุกวันเพ็ญ

มีกิจกรรมการแสดงออกร่วมกัน ถึงการทำบุญกุศลครั้งใหญ่ ละบาปอกุศลความชั่วครั้งใหญ่ ในระดับหมู่ของครอบครัว ชุมชน หรือหน่วยงานองค์กรของตนเอง ในทุกๆ วันพระที่เป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนละ ๑ ครั้ง หรือ ปีละ ๑๒ ครั้ง

 

ด้วยอานิสงส์แห่งการอนุโมทนาชัยชนะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชาและ การปฏิบัติบูชาพุทธชยันตีนี้ จงเป็นพลวปัจจัยนำพาให้เกิดชัยชนะต่ออุปสรรคขวากหนามความเลวร้ายทั้งหลายใน สังคมไทย ให้พ้นจากภาวะวิกฤติแห่งบ่วงอกุศลกรรมที่จวนเจียนจะหายนะนี้ ไปสู่ความสุขความเจริญงอกงามได้อย่างยั่งยืนของประชาชน-ประเทศชาติไทยเทอญ

 

ขอขอบพระคุณเอื้อเฝื้อข้อมูล

ฐิตวํโส ภิกฺขุ

เลขานุการเครือข่ายพุทธชยันตี-สังฆะเพื่อสังคม



รัฐบาลเจ้าภาพ-ฉลองปี “พุทธชยันตี”

นาแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เพื่อหารือแนวทางในการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาโลก พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องในปีพุทธชยันตี ครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า เนื่องจากในปี ๒๕๕๕ จะเป็นปีครบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงควรจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งทางรัฐบาลจะรับเป็นเจ้าภาพ และกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ

โดยจะให้ ๓ องค์กร คือ สำนัก งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กรมการศาสนา (ศน.) และมหาจุฬาฯ (มจร.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน มีส่วนร่วม รวมทั้งพิจารณาใช้สถานที่ในการจัดงาน เช่น เมืองทองธานี ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นต้น เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงาน ในการประชุมยังเห็นตรงกันว่าในการจัดงานดังกล่าวจะต้องจัดให้เกิดเรื่องราว ความทรงจำ ความประทับใจให้กับผู้ที่เข้าร่วมงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้เบื้องต้นคือ การวางศิลาฤกษ์ สร้างอาคารสำนักงานพระพุทธศาสนาโลก จัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากล จัดทำรายการตำราทางพระพุทธศาสนา และจัดทำเหรียญวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๕ เพื่อเป็นที่ระลึกโดยขอความร่วมมือจากวัดที่มีศักยภาพเป็นเจ้าภาพในการจัดทำ เหรียญดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นเหรียญพระพุทธเจ้าในปางลีลา หรือปางสมาธิ พร้อมกันนี้ให้มีการประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรมในการจัดหาการแสดงทาง วัฒนธรรม และภาพยนตร์ที่ส่งเสริมกิจการทางพระพุทธศาสนา นอก จากนี้ให้ประสานความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาพระพุทธศาสนาในการ จัดประชุมวิชาการ โดยให้ มหาจุฬาฯ เป็นหน่วยงานหลัก ส่วนการปฏิบัติบูชาของพุทธศาสนิกชนให้เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติธรรม ทั้งนี้เบื้องต้นกำหนดไว้ว่ากิจกรรมดังกล่าวทั้งหมดจะจัดขึ้นตลอดเดือน มิถุนายน ๒๕๕๕ เนื่องจากวันวิสาขบูชา ๒๕๕๕ จะตรงกับวันที่ ๔ มิ.ย. ๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น